วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2561


ประวัติศาสตร์การเสียดินแดนไทย ๑๔ ครั้ง เด็กรุ่นใหม่ควรศึกษาไว้เป็นบทเรียน

แผ่นดินไทย รักษาไว้ให้ลูกหลาน

ลายพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๖ ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงเสนาบดีที่ประชุมกันอยู่บนเรือ พระที่นั่งมหาจักรี
-:- ประวัติศาสตร์การเสียดินแดนของประเทศไทย-:-
ครั้งที่ ๑ เสียเกาะหมาก (ปีนัง) ให้กับประเทศอังกฤษ เมื่อ ๑๑ สิงหาคม ๒๓๒๙ พื้นที่ ๓๗๕ ตร.กม. ในสมัย ร.๑ เกิด จาก พระยาไทรบุรี ให้อังกฤษเช่าเกาะหมาก เพื่อหวังจะขอให้อังกฤษคุ้มครองเกาะหมากจากกองทัพของกรมพระราชวังบวรสถาน มงคล ซึ่งยกทัพมาจัดระเบียบหัวเมืองปักษ์ใต้ ในที่สุดอังกฤษก็ยึดเอาไป

ครั้งที่ ๒ เสียมะริด ทวาย ตะนาวศรี ให้กับพม่า เมื่อ ๑๖ มกราคม ๒๓๓๖ พื้นที่ ๕๕,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัย ร.๑ แต่เดิมเป็นของไทยครั้งสมัยสุโขทัย มังสัจจา เจ้าเมืองทวายเป็นไส้ศึกให้พม่า รัชกาลที่ ๑ ไม่สามารถตีคืนจากพม่าได้ ประกอบกับชาวเมืองทวายไม่พอใจกองทัพไทยที่เข้ายึดครอง จึงตกเป็นของพม่าไป

ครั้งที่ ๓ เสียบันทายมาศ (ฮาเตียน) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๓ ในสมัยรัชกาลที่ ๒

ครั้งที่ ๔ เสียแสนหวี เมืองพง เชียงตุง ให้กับพม่าเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๘ พื้นที่ ๖๒,๐๐๐ ตร.กม.ในสมัย รัชกาลที่ ๓ แต่เดิมเราได้ดินแดนนี้มาในสมัยรัชกาลที่ ๑ โดยพระเจ้ากาวิละ ยกทัพไปตีมาขึ้นอยู่กับไทยได้ ๒๐ ปี เนื่องจากเป็นดินแดนที่อยู่ไกล ประกอบกับเกิดกบฏเจ้าอนุเวียงจันทร์และเกิดกบฏทางหัวเมืองปักษ์ใต้ (กลันตัน ไทรบุรี) ไทยจึงห่วงหน้าพะวงหลัง ไม่มีกำลังใจจะยึดครอง หลังจากนั้นพม่าเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เชียงตุงก็เป็นของอังกฤษโดยสิ้นเชิง

ครั้งที่ ๕ เสียรัฐเปรัค ให้กับอังกฤษเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๙ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นการสูญเสีย ที่ทำร้ายจิตใจ คนไทยทั้งชาติ เพราะเป็นการสูญที่ห่างจากครั้งก่อนไม่ถึง ๑ ปี

ครั้งที่ ๖ เสียสิบสองปันนา ให้กับจีนเมื่อ ๑ พฤษภาคม ๒๓๙๓ พื้นที่ ๙๐,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นดินแดนในยูนานตอนใต้ของประเทศจีน เมืองเชียงรุ้งเป็นเมือง หลวงของไทยสมัยรัชกาลที่ ๑ ต่อมาเกิดการแย่งชิงราชสมบัติกันเอง แสนหวีฟ้า มหาอุปราชหนีลงมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้เกณฑ์ทัพเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ไปตีเมืองเชียงตุง (ต้องตีเมืองเชียงตุงให้ได้ก่อนจึงจะได้เชียงรุ้ง) แต่ไม่สำเร็จเพราะไม่พร้อมเพรียงกัน มาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้ให้กรมหลวงลวษาธิราชสนิท (ต้นตระกูลสนิทวงศ์) ยกทัพไปตีเชียงตุงเป็นครั้งที่ ๒ แต่ไม่สำเร็จจึงต้องเสียให้จีนไป
ครั้งที่ ๗ เสียเขมรและเกาะ ๖ เกาะ ให้กับฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๑๐ พื้นที่ ๑๒๔,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัย ร.๔ ฝรั่งเศสบังคับให้เขมรทำสัญญารับความคุ้มครอง จากฝรั่งเศส หลังจากนั้นได้ดำเนินการทางการฑูตกับไทย ขอให้มีการปักปันเขตแดน เขมรกับญวน แต่กลับตกลงกันไม่ได้ ขณะนั้นพระปิ่นเกล้า แม่ทัพเรือสวรรคต ไทยจึงอ่อนแอ ฝรั่งเศสจึงฉวยโอกาสบังคับทำสัญญารับรองความอารักขาจาก ฝรั่งเศสต่อเขมร ในช่วงนี้เอง อังกฤษกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญากันเมื่อ ๑๕ มกราคม ๒๔๓๘ โดยตกลงกันให้ไทยเป็นรัฐกันชน ประกอบกับ การดำเนินนโยบายของ ร.๕ ที่ไปประพาสยุโรปถึง ๒ ครั้ง ทำให้อังกฤษ เยอรมัน รัสเซียเห็นใจไทย ฝรังเศสจึงยึดดินแดนไป

ครั้งที่ ๘ เสียสิบสองจุไทย (เมืองไล เมืองเชียงค้อ) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ ๒๒ ธันวาคม ๒๔๓๑ พื้นที่ ๘๗,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัย รัชกาลที่ ๕ พวกฮ่อ ก่อกบฏ ทางฝ่ายไทยจัด กำลังไปปราบ ๒ กองทัพ แต่ปฏิบัติเป็นอิสระแก่กัน อีกทั้งแม่ทัพทั้งสองไม่ถูกกัน จึงเป็นโอกาสให้ฝรั่งเศสส่งทหารเข้าเมืองไล โดยอ้างว่า มาช่วยไทยปราบฮ่อ แต่หลัง จากปราบได้แล้ว ก็ไม่ยอมยกทัพกลับ อีกทั้งไทยก็ไม่ได้จัดกำลังไว้ยึดครองอีกด้วย จนในที่สุด ไทยกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญากันที่เมืองแถง (เบียนฟู) ยอมให้ฝรั่งเศสรักษา เมืองไลและเมืองเชียงค้อ

ครั้งที่ ๙ เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน (5 เมืองเงี้ยว และ 13 เมืองกะเหรี่ยง) ให้กับประเทศอังกฤษในสมัย รัชกาลที่ ๕ เมื่อ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2435 เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ทางด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจและทรัพยากร อันอุดม ด้วยดินแดนผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ยิ่ง

ครั้งที่ ๑๐ เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (อาณาจักรล้านช้าง หรือประเทศลาว) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ ๓ ตุลาคม ๒๔๓๖ พื้นที่ ๑๔๓,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นของไทยมาตั้งแต่ สมัยสมเด็จพระนเรศวร ต้องเสียให้กับฝรั่งเศสตามสัญญา ไทยกับฝรั่งเศส เท่านั้นยังไม่พอ ฝรั่งเศสเรียกเงินจากไทย ๑ ล้านบาท เป็นค่าเสียหายที่ต้องรบกับไทย เสียค่าประกันว่าไทยต้องปฏิบัติตามสัญญาอีก ๓ ล้านบาท และยังไม่พอ ฝรั่งเศสได้ ส่งทหารมายึดเมืองจันทบุรีและตราด ไว้ถึง ๑๕ ปี นับว่าเป็นความเจ็บปวดที่สุด ของไทยถึงขนาดที่เจ้านายฝ่ายในต้องขาย เครื่องแต่งกายเพื่อนำเงินมาถวาย ร.๕ เป็นค่าปรับ ร.๕ ต้องนำถุงแดง (เงินพระคลังข้างที่) ออกมาใช้

ครั้งที่ ๑๑ เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง (ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ดินแดนในทิศตะวันออกของน่านคือ จำปาสัก และไซยะบูลี) ให้กับฝรั่งเศสเมื่อ ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๔๖ พื้นที่ ๒๕,๕๐๐ ตร.กม. ในสมัย.ร.๕ ไทยทำสัญญากับฝรั่งเศส เพื่อขอให้ฝรั่งเศสคืน จันทบุรีให้ไทย แต่ฝรั่งเศสถอนไปแต่จันทบุรีแล้วไปยึด เมืองตราดแทนอีก ๕ ปี แล้วเมื่อฝรั่งเศสได้ หลวงพระบางแล้วยังลุกล้ำย้านนาดี, ด่านซ้าน จ.เลย และยังได้เอาศิลาจารึกที่ พระเจดีย์ศรีสองรักษ์ไปด้วย

ครั้งที่ ๑๒ เสียมลฑลบูรพา (พระตะบอง,เสียมราฐ,ศรีโสภณ) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ ๒๓ มีค. ๒๔๔๙ พื้นที่ ๕๑,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัย ร.๕ ไทยได้ทำสัญญากับฝรังเศส เพื่อแลกกับ ตราด,เกาะกง,ด่านซ้าย ตลอดจนอำนาจศาลไทยที่จะบังคับต่อคนในบังคับ ของฝรั่งเศส ในประเทศไทย เพราะขณะนั้นมีคนจีนญวนไปพึ่งธงฝรั่งเศสกันมาก เพื่อสิทธิการค้าขาย ฝรั่งเศสก็เพียงแต่ถอนทหารออกจากตราดเมื่อ ๖ กรกฎาคม ๒๔๕๐ กับด่านซ้าย คงเหลือแต่เกาะกงไม่คืนให้ไทย

ครั้งที่ ๑๓ เสียรัฐกลันตัน,ตรังกานู,ไทรบุรี, ปริส ให้กับอังกฤษเมื่อ ๑๐ มีนาคม ๒๔๕๑ พื้นที่ ๘๐,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัย ร.๕ ไทยได้ทำสัญญากับอังกฤษ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ศาลไทยที่จะบังคับคดีความผิดของคนอังกฤษในไทย



ครั้งที่ ๑๔ เสียเขาพระวิหาร ให้กับเขมรเมื่อ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๕ พื้นที่ ๒ ตร.กม. ในสมัย ร.๙ ตามคำพิพากษาของศาลโลก ให้เขาพระวิหารตกเป็นของเขมร เนื่องมาจาก หลักฐานสำคัญของเขมร ในสมัยที่เป็นของฝรั่งเศส เมื่อรู้ว่ากรมพระยาดำรงราชานุภาพ จะเสด็จเขาพระวิหาร จึงขึ้นไปก่อนแล้วชักธงชาติฝรั่งเศสรับเสด็จ แล้วถ่ายรูปไว้เป็น หลักฐาน และนำมาใช้เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงต่อศาลโลก ด้วยเสียง 9 ต่อ 3
พ.ศ. 2550 กัมพูชาเสนอองค์การยูเนสโก ให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ยังไม่มีข้อสรุป
18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นาย นพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ ได้ลงนามยินยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่ฝ่ายเดียว ร่วมกับ นายอึง เซียน เอกอัครราชทูตกัมพูชา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
24 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ทางการกัมพูชาปิดปราสาทพระวิหารชั่วคราว หวั่นผู้ไม่ประสงค์ดีเข้าไปทำร้ายชาวกัมพูชาในบริเวณใกล้เคียง
28 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติ การดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียน ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด หรือ ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
8 กรกฎาคม พ.ศ 2551 องค์การยูเนสโก ประกาศรับปราสาทพระวิหารขึ้นเป็นมรดกโลก



วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2561

20 ที่เที่ยวนครศรีธรรมราช

 %e0%b8%9b%e0%b8%81%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%a3

สถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอเมือง
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร 
มาถึงเมืองคอน แน่นอนต้องแวะมาที่ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ที่ชาวนครเรียกว่า วัดพระธาตุ โบราณสถานสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สัญลักษณ์ของจังหวัด   และเป็น มิ่งขวัญชาวเมืองนครศรีธรรมราชตลอดจนพุทธศานิกชน  พระบรมธาตุเจดีย์ เป็นที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศ จดทะเบียนวัดพระมหาธาตุเป็นโบราณสถาน นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้


ศาลหลักเมืองนคร
ศาลหลักเมืองนคร สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่คอยปกป้องรักษาบ้านเมืองให้พ้นจากภัยอันตรายต่างๆ ราคงเคยรับรู้ถึงความศักดิ์สิทธิ์ของศาลหลักเมืองจากคำลือมาหลายต่อหลายครั้ง ผ่านองค์จตุคามรามเทพเทวดารักษาเมือง ซึ่งอยู่บนเสาสูงสุดของหลักเมือง อาคารสีขาวที่ออกแบบได้อย่างดงามประกอบด้วยอาคารทั้งหมด 4 หลัง หลังกลางเป็นที่ประดิษฐานของศาลหลักเมือง ออกแบบให้มีลักษณะคล้ายศิลปะศรีวิชัย เรียกว่าทรงเหมราชลีลา  ส่วนอาคารเล็กทั้งสี่หลัง ถือเป็นบริวารสี่ทิศ เรียกว่าศาลจตุโลกเทพ ประกอบด้วยพระเสื้อเมือง ศาลพระทรงเมือง ศาลพระพรหมเมืองและศาลพรบันดาลเมือง


บ้านขุนรัฐวุฒิวิจารณ์
บ้านขุนรัฐวุฒิวิจารณ์  ตั้งอยู่ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ใกล้กับวัดพระธาตุ อยู่ในพื้นที่เดียว กับร้านกาแฟไทชิ อาคารเรือนปั้นหยาอายุกว่า 108 ปี โดยทายาทของขุนรัฐวุฒิวิจารณ์ได้ดำเนินการบูรณะปรับปรุงบ้านหลังนี้อีกครั้ง ฟื้นฟูสู่สภาพที่สวยงามพร้อมกับเปิดเป็น สถานที่ท่องเที่ยว เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เยี่ยมชม โดยบ้านขุนรัฐวุฒิได้รางวัล อาคารอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรม ดีเด่น ปี 2556 โดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

บ้านหนังตะลุงสุชาติ
บ้านหนังตะลุงสุชาติ ทรัพย์สิน เป็นศิลปินหนังตะลุงและช่างทำรูป หนังตะลุงฝีมือดีเยี่ยมของเมืองนครศรีธรรมราช ที่ริเริ่มและสืบทอดวัฒนธรรมการ ทำตัว หนังตะลุง รวมไปถึงการเชิดหนังตะลุงจนที่เป็น ที่ยอมรับในระดับชาติ  บ้านหนังตะลุงสุชาติเป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายตัวหนังตะลุงและหนังใหญ่ อีกทั้งยัง มีการแสดงในลักษณะสาธิตในบริเวณบ้านหนังตะลุง นอกจากนี้ยังได้แบ่งพื้นที่เพื่อจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน และพิพิธภัณฑ์หนังตะลุงนานาชาต

กำแพงเมืองเก่า
กำแพงเมืองเก่า เป็น กำแพงเมืองที่เคยปกป้องเมืองนครศรีธรรมราชจากข้าศึก เป็นโบราณสถานที่สำคัญของจังหวัดแสดงถึงความเก่าแก่ ความแข็งแกร่ง ความเจริญรุ่งเรือง และประวัติศาสตร์อันยาวนาน ปัจจุบันได้รับการบูรณะใหม่ให้แข็งแรงและสวยงาม เพื่อพัฒนาเป็นอีก 1 สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่า มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีที่ตั้งอยู่หลายจุดด้วยกัน แต่ที่เหลือให้ชม คือ กำแพงเมืองด้านทิศเหนือ อยู่ริมคลอง หน้าเมือง ถนนมุมป้อม

หอพระอิศวร  หอพระนารายณ์
หอพระอิศวรและเสาชิงช้า อยู่ริมถนนราชดำเนิน เป็นโบราณสถานในศาสนาฮินดู เป็นที่ประดิษฐานศิวลึงค์ ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของพระอิศวรและ ฐานโยนิ รวมทั้งเทวรูปสำริดอีกหลายองค์ อาทิ เทวรูปศิวนาฎราช พระอุมาและพระพิฆเนศ ซึ่งจำลองจากองค์จริงที่เก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่ง ชาตินครศรีธรรมราช
หอพระนารายณ์ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับหอพระอิศวร อาคารหอพระนารายณ์เดิน ไม่สามารถสืบทราบรูปแบบได้ สิ่งสำคัญที่พบภายในหอพระนารายณ์ ได้แก่ เทวรูปพระนารายณ์สลักจากหินทรายสีเทาทรงมาลารูปกระบอก ปลายสอบและพระหัตถ์ขวาทรงสังข์ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 10 – 11ซึ่งปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช โบราณวัตถุที่ตั้งอยู่ในหอพระนารายณ์ขณะนี้คือ เทวรูปพระนารายณ์จำลองจากองค์จริงที่พบในแหล่งโบราณสถานคดีแถบอำเภอสิชล

กุฏิทรงไทยวัดวังตะวันตก
กุฏิทรงไทยวัดวังตะวันตก หรือที่ชาวนครท้องถิ่นเรียกกันว่ากุฏิร้อยปี ตั้งอยู่ในวัดวังตะวันตก ริมถนนราชดำเนิน เป็นกุฏิไม้ทรงไทยเรือนเครื่องสับ 3 หลัง มีหลังคาจั่วแต่ละหลังคาคลุมเชื่อมต่อกัน   ตัวเรือนกุฏิไม้เป็นแบบเรือนฝาประกน มีลวดลายแกะสลักไม้ ตกแต่งตามส่วนต่างๆ ด้วยความงดงามของลวดลายศิลปะ สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ คัดเลือกกุฏิวัดวังตะวันตกให้เป็น อาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประเภทปูชนียสถานและวัดวาอาราม

เจดีย์ยักษ์ วัดพระเงิน
เจดีย์ยักษ์ อยู่ริมถนนศรีปราชญ์ ข้างสำนักงานเทศบาลนครศรีธรรมราช เป็นเจดีย์สูงใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากเจดีย์พระบรมธาตุ ทรงเจดีย์เป็นแบบลังกา ด้านหน้าพระเจดีย์มีวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปั้นนั่งองค์ใหญ่ สมัยอยุธยา เรียกพระเงินหรือหลวงพ่อเงิน  ซึ่งปัจจุบันทางจังหวัดได้มีการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบ รวมถึงทำการบูรณะเจดีย์ใหม่โดยทาเจดีย์เป็นสีขาว จากเดิมที่เป็นอิฐ  ซึ่งให้ใครที่ได้ขับรถผ่านไปในถนนเส้นนี้จะเห็นเจดีย์ทรงลังกาสีขาวโดดเด่นมาแต่ไกล เป็นอีกหนึ่งปูชนียสถานที่สำคัญของนครที่ควรค่าแก่การมายี่ยมชม
dew_4757


สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอลานสกา
บ้านคีรีวง
ชุมชนต้นแบบในการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีวิถีชีวิตแบบชาวสวนอยู่กับธรรมชาติ และได้พัฒนา การบริการนักท่องเที่ยวขึ้นมาเป็นธุรกิจใหม่ของชุมชน จุดเด่นของหมู่บ้านคีรีวง ก็คือ ทัศนียภาพแห่งธรรมชาติ เพราะคีรีวงตั้งอยู่ท่ามกลางเทือกเขา ป่าไม้และสายน้ำ กิจกรรมที่น่าสนใจ ในหมู่บ้านคีรีวง คือ การพักในที่พักแบบโฮมสเตย์ เพลินตาและเพลินอารมณ์กับทัศนียภาพแห่ง ธรรมชาติ ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางเทือกเขา ป่าไม้ ปั่นจักรยานชมวิวสูดอากาศบริสุทธิ์ ซึ่งสามารถหาเช่าจักรยานได้ตามร้านเช่าจักรยานในจุดต่างๆ รอบหมู่บ้าน

จุดชมวิวเขาธง
จุดชมวิวเขาธง ตั้งอยู่บ้านเขาธง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ไม่ไกลจากหมู่บ้านคีรีวง  ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ที่ทางจังหวัดนครศรีธรรมราชภูมิใจนำเสนอ มีวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม และเป็นสถานที่สูดอากาศที่บริสุทธิ์ เป็นอีกหนึ่งจุดชมวิวที่มีป้ายเขียนว่า อากาศดีที่สุดในประเทศไทย  มีร้านกาแฟบรรยากาศแบบท้องถิ่น  น่านั่งจิบกาแฟดื่มด่ำไปกับเสียงทักทายของธรรมชาติ  นอกจากนี้ บริเวณด้านล่างของจุดชมวิวเป็นสำธารน้ำใส สามารถลงเล่นน้ำได้ ใครอยากพักผ่อนค้าง 1 คืน  มีที่พักบรรยากาศดี ชื่อว่า เขาธงรีสอร์ท  รีสอร์ทเล็กบรรยากาศสบาย ตรงข้ามจุดชมวิว หากใครผ่านไปแถว ลองขับรถผ่านเลยไปตามถนนเส้นหลังหมายเลข 4015 ที่มุ่งหน้าไปอำเภอฉวาง จะได้ชมวิวสองข้างทางของถนนสายนี้สวยงามไม่แพ้ภาคเหนือ

dew_4408

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอช้างกลาง
วัดธาตุน้อย พ่อท่านคล้าย
วัดธาตุน้อย หรือ วัดพระธาตุน้อย ตั้งอยู่ในเขตตำบลหลักช้าง กิ่งอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งขึ้นโดยความประสงค์ ของพ่อท่านคล้าย พระเกจิอาจารย์ที่ชาวใต้เลื่อมใสศรัทธาอย่างสูงยิ่งรูปหนึ่ง ซึ่งศิษย์ยานุศิษย์และประชาชน ที่เคารพนับถือ ศรัทธา พ่อท่านคล้ายได้เชื่อถือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของวาจา พูดอย่างไรเป็นอย่างนั้น ท่านมักจะให้พรกับทุกคน ขอให้ เป็นสุข เป็นสุข พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ ได้ชื่อว่าเป็นเทวดาเมืองคอน เทพเจ้า แห่งแดนใต้ ชาวเมืองคอนเสื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอปากพนัง
ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ
เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนา พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  เพื่อช่วยเหลือบรรเทา ความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง  มีสะพานข้ามฝั่งแม่น้ำเพื่อให้คนในพื้นที่ได้สัญจรข้ามไปมา ยังอีกฝั่ง และได้จัดทำเป็นสวนสาธารณะที่ร่มรื่นเหมาะสำหรับมาพักผ่อนชมวิว  จึงกลายเป็น สถานที่ท่องเที่ยวไฮไลท์ ที่น่าสนใจอีกแห่ง หนึ่งของอำเภอปากพนัง

แหลมตะลุมพุก
แหลมตะลุมพุกอ.ปากพนัง มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันมายาวนาน เนื่องจากการถูกพายุพัดสร้างความเสียหาย ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์   เป็นชายหาดสีขาวยาวโค้งเรียวยาวไปตามชายฝั่งทะเลแนวเหนือ-ใต้ ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร ด้านหนึ่งของแหลมรับลมทะเล จากฝั่งอ่าวไทย อีกด้านรับคลื่นลมในฝั่งอ่าวปากแม่น้ำปากพนัง นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางด้วยรถยนต์จนถึงปลายแหลมได้เป็น แหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งในปัจจุบันมีการปรับทัศนียภาพให้สวยงามขึ้นเป็นแหล่งรวมร้านอาหาร ที่เสิร์ฟซีฟู้ดเคล้า วิวทะเลให้คุณได้อิ่มเอมอย่างเอร็ดอร่อย

ตลาดย้อนยุคปากพนัง
ตลาดย้อนยุคปากพนัง  สถานที่ท่องเที่ยวที่พลาดไม่ได้หากแวะมาเที่ยวเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตลาดแห่งนี้ ตั้งอยู่สอง ริมฝั่งคลองบางฉลากซึ่งเชื่อมต่อกับแม่น้ำปากพนัง ขนานไปกับลำคลอง อีกฝั่งเป็นตลาดที่ติดเลียบกำแพงของเรือนจำ ส่วนอีกจะเป็น บ้านที่อยู่อาศัยที่เปิดเป็นร้านขายของต่างๆ  ตลาดย้อนยุคปากพนังถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก

ตลาด 100 ปี ปากพนัง
เป็นตลาดเก่าแก่ดั้งเดิมมากว่า 100 ปี ตั้งอยู่ บริเวณท่าเรือข้ามฝากฝั่งตะวันออก อาคารบ้านเรือนส่วนใหญ่ สร้างด้วยไม้ด้วยความที่ไม่ได้เป็นตลาดปรุงแต่ง ให้เก่าเหมือนหลาย ๆ ที่ ความเรียบง่ายและธรรมชาติของวิถีชีวิตผู้คนแถวนั้น จึงดูมีมนต์ขลังดึงดูดให้เข้าไปเยี่ยมชม โดยตลาดแห่งนี้ตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำ ช่วงต้นตลาดจะเป็นร้านขายของ ลักษณะเป็นห้องแถวติดกันเป็นบล็อก ๆ ส่วนใหญ่ขายขนม พื้นบ้าน อย่างขนมลา  รวมถึงอาหารทะเลสดๆ ราคาย่อมเยาที่ชาวประมง จะมาส่งแม่ค้าทุกวัน
 

โรงสีเก่าปากพนัง
หากเรามาเที่ยวในอำเภอปากพนัง จะสังเกตเห็นปล่องไฟอิฐสูงตั้งโดดเด่นริมแม่น้ำปากพนังอยู่หลายจุด ปล่องไฟดังกล่าวคือ ปล่องโรงสี ข้าวเก่าในอดีตปากพนังเจริญสูงสุดยุคทำนาข้าวมีความอุดมสมบูรณ์ในฐานะอู่ข้าวอู่น้ำของภาคใต้  มีโรงสีข้าว(โรงสีไฟ) จำนวนมาก ถึงแม้วันนี้ภาพความยิ่งใหญ่ของแหล่งผลิตข้าวเพื่อการส่งออกในปากพนังจะได้จาง หายไปตามกาลเวลา ท้องทุ่งนา ได้แปรเปลี่ยนเป็นสวนและนากุ้ง กิจการโรงสีไฟที่เคยเจริญรุ่งเรืองเหลือแค่เพียงซากปล่องไฟโรงสีที่ตั้งตระหง่าน เป็นอนุสรณ์แห่งอดีตที่ชาวปากพนังภาคภูมิใจ
 

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอขนอม
อุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ 
เป็นชายหาดที่มีชื่อเสียงของนครศรีธรรมราช  โดดเด่นด้วยหาดทรายที่ยื่นยาวออกไป ในทะเลคู่กับทิวสน  มีหาดทรายยาวกับทิวมะพร้าว   หาดที่มีชื่อเสียงของนครศรีธรรมราช  โดดเด่นด้วยหาดทรายที่ยื่นยาวออกไป ในทะเลคู่กับทิวสน มีอ่าว วต่างๆ เช่น อ่าวท้องหยี อ่าวท้องยาง อ่าวคอเขา อ่าวหน้าด่าน อ่าวแฝงเภา อ่าวท้องชิง อ่าวในเพลา ซึ่งมีชายหาดที่มีทรายขาว สะอาด น้ำทะเลใส เหมาะสำหรับการเล่นน้ำทะเล นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่โดดเด่นคือ โลมาสีชมพูที่พบได้ง่าย ณ หาดขนอม

เกาะนุ้ยนอก
เกาะนุ้ยนอก  เกาะเล็กกลางทะเลในอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช แต่มีสิ่งที่มหัศจรรย์บนเกาะ ทำให้เกาะแห่งนี้กลายเป็นสถานที่ Unseen เนื่องจากบนเกาะนี้มีบ่อน้ำจืดที่มีรูปร่างคล้ายกับรอยเท้า สามารถมองเห็นได้ในตอนที่น้ำทะเลลดลง ถ้าเป็นช่วงที่น้ำขึ้น บ่อน้ำนี้ก็จะถูกน้ำทะเลท่วมหมด เชื่อกันว่าพื้นที่แห่งนี้คือบริเวณที่เกิดตำนาน “หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด”  เกาะนุ้ยนอก มีทางบันไดเดินขึ้นไปก็สะดวกเพื่อไปไหว้หลวงปู่ทวด ข้างบนมีจุดชมวิว สามารถมองเห็นเกาะสลับซับซ้อน บริเวณรอบๆ หากไปช่วงที่น้ำลงสามารถเดินข้ามไปมาระหว่างเกาะได้อย่างสบาย  บนเกาะยังมีห้องน้ำไว้บริการนักท่องเที่ยวด้วย  

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอสิชล
เขาพลายดำ
เขาพลายดำ แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แห่งทะเลใต้ เป็นเขาที่มีลักษณะเป็นภูเขาที่ติดทะเลตรงแนวรอยต่อ เขตอำเภอขนอมและอำเภอสิชล อยู่ห่างจากตัวเมือง นครศรีธรรมราช ประมาณ 86 กม. เป็นทะเลที่มีธรรมชาติที่แสนสงบและมีจุดชมวิวเขาพลายดำที่สามารถเห็น อ่าวท้องยาวได้ในมุมกว้าง 
สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอนบพิตำ
กรุงชิง
กรุงชิง เป็นชุมชนเล็กๆที่โอบล้อมด้วยภูเขาสลับซับซ้อนโดยมีใจกลางเป็นที่ราบแอ่งกระทะและมีสายน้ำคลองกลายไหลผ่านหล่อเลี้ยงชีวิตชาวกรุงชิงมาตั้งแต่สมัยอดีตจนกระทั่งปัจจุบัน หากคุณเป็นคนหนึ่งที่รักการผจญภัย หลงใหลในความเงียบสงบและธรรมชาติที่สวยงามของผืนป่า เขียวขจี  กรุงชิง ชุมชนเล็ก ในพื้นที่ อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช มีสถานที่ท่องเที่ยวให้คุณได้สนุกและมันส์หลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ถ้ำ น้ำตก ล่องแก่ง ภูเขา ทะเลหมอก  สถานที่อีกหนึ่งแห่งที่ไม่ควรพลาดมาทำความรู้จักและกล่าวคำทักทาย

ประวัติศาสตร์การเสียดินแดนไทย ๑๔ ครั้ง เด็กรุ่นใหม่ควรศึกษาไว้เป็นบทเรียน แผ่นดินไทย รักษาไว้ให้ลูกหลาน ลายพระหัตถ์พระบาทสม...